วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


             บันทึกอนุทิน



          วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  20 ตุลาคม  2557  ครั้งที่ 10
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                  เวลาเลิกเรียน   14.00 น.



กิจกรรมภายในวันนี้
     อาจารย์อธิบายเนื้อหาของเด็กที่มีความบกร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กสมาธิสั้นและเด็กพิการซ้อนโดยอาจารย์แจกใบเอกสารให้ดูตามเนื้อหาใน power point ที่อาจารย์อธิบาย



                                  สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การวางแผนในการสอนเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กสมาธิสั้นและเด็กพิการซ้อน และเข้าใจปัญหาของเขาเพื่อครูจะได้ปฏิบัติตนให้ถูกทาง ส่วนสำคัญคือการให้กำลังใจให้เด็กพิเศษและการช่วยเหลือ ดูแลเด็ก

ประเมินตนเอง

          มีความรับผิดชอบ แต่งกายเรียบร้อย ดูใบงานตามเนื้อหาที่อาจารย์สอน บางทีก็พูดเกินไป แต่ก็เก็บรายละเอียดได้ บรรยากาศน่านอนมากๆ 

ประเมินเพื่อนๆ

        เพื่อนๆตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อยแลกเปลี่ยนคำถามกับอาจารย์และฟังคำอธิบายได้เข้าใจ

ประเมินอาจารย์
  
        อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น่ารัก สอนอย่างละเอียด แลกเปลี่ยนคำถามกับนักศึกษา อาจารย์มีวิดีโอมาให้ดูด้วยเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น 



สิ่งที่หาเพิ่มเติม

         เด็กสมาธิสั้น

















วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


             บันทึกอนุทิน



          วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  13 ตุลาคม  2557  ครั้งที่ 9
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                  เวลาเลิกเรียน   14.00 น.



กิจกรรมภายในวันนี้

       วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และเด็กออทิสติก โดยอาจารย์แจกใบชีสให้คนละชุดเพื่อดูตาม power point ของอาจารย์ที่อาจารย์เตรียมมา



สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ






     เด็ก L.D.

                                            ด้านการอ่าน 

ตัวอย่าง การอ่าน เช่น

จาน----->จาง/บา


ง่วง------>ม่วม/ม่ง/ง่ง


เลย------>เล


โบราณ------>โบรา


หนังสือ------>สือ


อรัญ------>อะรัย


                                      ด้านการเขียน

ตัวอย่างการเขียน เช่น








ด้านการคิดคำนวณ

ตัวอย่างการคิดคำนวณ เช่น






                               
   ตัวอย่าง   การคิดคำนวณ    16  +  8   =                  

1)     การคิดของเด็กปกติ

                                   1

                                   1     6

                                              +
                                          8

                                    2     4


                           
                         
2)     การคิดคำนวณของเด็กที่บกพร่องทางการเรียน  เด็ก L.D.    


                                       1                                                                    
                    2.1)             1  6                                              2.2)                 1   6
                                     
                                               +                                                                         +

                                            8                                                                          8


                                    1  1  4                                                                  1    1    4



    **จากตัวอย่างข้างบนมี 2 ตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ 1 เป็นการคิดของเด็กปกติซึ่งเด็กปกติจะคิดจากขวาไปซ้ายหรือจากหลักหน่วยไปหาหน่วยสิบจะได้คำตอบถูกต้องและการเขียนที่ถูกหลัก

ตัวอย่างที่ 2 เป็นการคิดของเด็ก L.D.

        จากข้อที่ 2.1)   เด็กL.D. จะคิดจากด้านขวาไปซ้ายจากหลักหน่วย คือ 6+8 จะได้เท่ากับ 14  ใส่ 4 ทด 1 แต่หลักสิบเด็กดึงตัวทดและตัวตั้งลงมาเขียน เป็นคำตอบ จึงได้ คำตอบ เป็น   114

        จากข้อที่   2.2) เด็กL.D.จะคิดจากด้านซ้ายไปขวาคือ เด็กดึงตัวตั้ง1 ลงมา และบวก 6กับ 8ได้ 14 คำตอบของเด็กจึงเป็น 114

   ** การคิดของเด็กL.D. จึงคิดคำนวณไม่ได้เพราะเด็กเข้าใจในความคิดของตัวเองว่าถูกและอาจเดาทำให้ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลา บวกและลบ ตีโจทย์เลขไม่ออก จึงทำให้ได้คำตอบแบบผิดๆ


       เด็กออทิสติก

ไม่สบตา ไม่พาที  ไม่ชี้นิ้ว

การประเมินมี 4 ทักษะ






พฤติกรรมของเด็กปกติและเด็กออทิสซึม


        เด็กปกติ                เด็กออทิสซึม

         ดูหน้าแม่ - - - > ไม่มองตา

         หันไปตามเสียง - - - > เหมือนหูหนวก

        เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม - - - > เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด

         ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้ - - - > ไม่สนใจคนรอบข้าง

         จำหน้าแม่ได้ - - - > จำคนไม่ได้

        เปลี่ยนของเล่น - - - > นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง 

        เคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย - - - > มีพฤติกรรมแปลกๆ

        สำรวจและเล่นตุ๊กตา - - - > ดมหรือเลียตุ๊กตา 

ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ - - - > ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัว                                                          เองทำร้ายคนอื่นโดยไม่มีสาเหตุ 






                           เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก
          องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ

-ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
-ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
-ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุกสนานร่วมกับผู้อื่น
-ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น


ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ 

-มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
-ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
-พูดซ้ำๆหรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ


มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ

-มีความสนใจที่ซ้ำๆอย่างผิดปกติ
-มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
-มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
-สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ


พฤติกรรมการทำซ้ำ

-นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
-นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
-วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
-ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม


พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)

-ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
-การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
-การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ


Autistic Savant

-กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (Visual thinker) จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
-กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music,math and memory thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย(top down thinking)




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

      ถ้าได้สอนเด็กพิเศษเราสามารถดูแลเด็กพิเศษได้อย่างเต็มที่การวางแผนในการสอนเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ และเข้าใจปัญหาของเขาเพื่อครูจะได้ปฏิบัติตนให้ถูกทาง ส่วนสำคัญคือการให้กำลังใจให้เด็กพิเศษและการช่วยเหลือ ดูแลเด็ก

ประเมินตนเอง

          มีความรับผิดชอบ แต่งกายเรียบร้อย ดูใบงานตามเนื้อหาที่อาจารย์สอน บางทีก็พูดเกินไป แต่ก็เก็บรายละเอียดได้

ประเมินเพื่อนๆ

        เพื่อนๆตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อยบรรยากาศในห้องเย็นสบายทำให้เพื่อนบางคนก็เกิดอาการ นอนหลับในห้อง แต่ส่วนใหญ่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินอาจารย์
  
        อาจารย์แจกใบงานเพื่อให้นักศึกษาดูตามรายละเอียดที่สอนเพื่อให้เข้าใจมากกว่านี้ท่านจึงได้แจกใบงานให้ อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยน่ารัก และสอนเป็นกันเองกับนักศึกษามากไม่กดดันเลย 

















วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


          บันทึกอนุทิน



          วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  6 ตุลาคม  2557  ครั้งที่ 8
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                  เวลาเลิกเรียน   14.00 น.



กิจกรรมภายในวันนี้


       ระหว่าง วันที่ 6 -12 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เป็นช่วงการสอบกลางภาค( MID Taem )จึงไม่มีการเรียนการสอน










                    "ขอให้ทุกคนสอบได้คะแนนดีๆ โชคดีนะคะ"



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


             บันทึกอนุทิน



          วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  29  กันยายน  2557  ครั้งที่ 7
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                     เวลาเลิกเรียน   14.00 น.



กิจกรรมภายในวันนี้


วิชาเด็กพิเศษวันจันทร์ไม่มีการเรียนการสอน
อาจารย์ให้ทุกคนเคลียงานวิชาต่างๆ และทบทวนบทเรียน
วิชาเด็กพิเศษจะสอบกลางภาค วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม ในเวลาเรียน
 ·