วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปิดภาคเรียนที่ 1 ปี 2557


                        ปิดภาคเรียนที่ 1 ปี 2557

  วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี   1 ธันวาคม  2557  ครั้งที่ 16
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                  เวลาเลิกเรียน   14.00 น.

 วันนี้อาจารย์ให้เขียนความประทับใจในการเรียน วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ และให้รางวัลกับคนที่ได้ ดาวเด็กดี เยอะ 

 ประเมินตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน

       
        ก่อนเรียน หนูคิดว่า วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ นั้นที่จริงคิดว่ามันคงจะง่าย คงเป็นเด็กที่ เรียนไม่รูุ้้เรื่อง คือเด็ก ปัญญาอ่อน  เด็กพิเศษคงไม่ได้ดูแลอะไรมาก ส่วนมากพ่อแม่คงจะมาดูแลเด็กในโรงเรียนกับคุณครูด้วย เด็กพิเศษคงไม่เรียนกับเด็กปกติ
 
       หลังเรียน  รู้เลยว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด เด็กพิเศษเป็นเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง กำลังใจก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ดีที่สุด  เด็กพิเศษไม่ได้มีแค่ เด็กที่ขึ้นชื่อ แค่ว่า ปัญญาอ่อน แต่เด็กพิเศษมีอยู่ 9 ประเภท  เด็กบกพร่องทางสติปัญญา  เด็กบกพร่องทางการได้ยิน เด็กบกพร่องทางการเห็น เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้    เด็กพิการซ้อน เด็กปัญญาเลิศ
     การเรียนการสอน เป็นสิ่งที่ควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเด็ก การดูแลของครู โรงเรียน  และผู้ปกครองที่จะต้อประสานวามช่วยเหลืดูแลให้ตรงจุดและมุ่งเสริมสร้าง
พัฒนาการของเด็ก และมุ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กแต่ละคนให้เด็กได้มีโอกาสนำประสบการณ์
ขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ 


ความรู้สึก /ความประทับใจ

      ในการเรียนวิชานี้มา รู้สึกว่า ไปทางไหนถ้าเกิดเห็น เด็กพิเศษก็ชอบมองแต่ไม่มองนาน  รู้เลยว่าน้องเขาบกพร่องทางไหนและยิ้มให้เขา  ส่วนหนึ่งคิดว่า การให้กำลังใจผ่านการยิ้ม โดยที่เราไม่รู้จักกันมันก็เป็นกำลังใจที่ดีอีกทางหนึ่ง ทำให้เขายิ้มตอบให้กับเรา และอยากจะบอกว่าวิชานี้อาจารย์สอนดีมาก ให้รู้ถึงหน่วยงาน เทคนิคและวิธีการในการดูแลและสอนเด็กพิเศษ กาแสดงท่าทางที่เหมือน โดยทำให้เราเห็นภาพ เลยก็ว่าได้ ต้องขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะที่ให้สิ่งดีๆกับพวกเราปี 3 กลุ่ม 103 และโอกาสดีๆกับหนู 3 ปีที่เรียนกับอาจารย์มาโดยตลอด ทุกครั้งก็ได้ รางวัลเด็กดี ตลอด มันเป็นสิ่งที่หนูภูมิใจที่ได้รางวัลกับอาจารย์  ปี 1เป็นเจ้ากว้าง ตัวน้อย ปี2 เป็นตัวปั๊มรูปดาว และปีนี้ เป็น ตุ๊กตาลิงและเสือตัวน้อย หนูจะเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้คะและจะทำแบบนี้ตลอดไปคะ ขอบคุณโอกาสและเวลาดีๆนะคะ

ปี1 เรียนกับอาจารย์ครั้งแรก

รายวิชา   การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

 ตุ๊กตาตัวแรกกวางเรนโบว์






 ปี2 เรียน 
รายวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ได้ที่ปั๊มรูปดาว





 

ปี 3 เรียน 

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

ได้ตุ๊กตาเสือน้อยและลิงน้อย





      สุดท้ายนี้ก็ให้อาจารย์ ดูแลสุขภาพ น่ารักๆ  ใจดีและขอให้เจอกันอีกในเทอมหน้านะคะ


                                                                    ด้วยความเคารพเป็นอย่างสูง
 
                                                   น.ส.พาทินธิดา  เฉลิมบุญ



วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


             บันทึกอนุทิน


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี   24 พฤศจิกายน  2557  ครั้งที่ 15
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                  เวลาเลิกเรียน   14.00 น.


กิจกรรมภายในวันนี้
      วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับ เด็กสมาธิสั้น ADHD  โดยมีเอกสารดูประกอบไปพร้อมกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนใน power point ซึ่งประกอบไปด้วย การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น การใช้ยา การปรับพฤติกรรม การปรับสภาพแวดล้อม การสื่อสาร กิจกรรมบำบัด โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น ร่วมทั้งบทบาทหน้าที่ของครูและหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ 


  สรุป องค์ความรู้ที่ได้รับ



 
การปรับสภาพแวดล้อม คือ การให้เด็กนั่งใกล้กับครู

กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กสมาธสั้น

      physical Exertion ลดภาวะการอยู่ไม่นิ่ง คือ การทำกิจกรรมที่ปลดปล่อยพลังงานให้ออกมาเยอะๆ เช่น  การวิ่งส่งลูกบอลของ เป็นต้น
     Self Control ควบคุมตัวเอง คือ การทำกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านการควบคุมสมาธิ เช่น การร้อยลูกปัด การเดินข้ามสิ่งกีดขวาง เป็นต้น
     Relaxation Training ผ่อนคลาย คือ การทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายระหว่างกายและสมอง เช่น การนวดด้วยลูกบอล แกว่งชิงช้า เป็นต้น

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

   1. สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ) เป้าประสงค์ คือ
          1. มีระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล    

          2. เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ด้วยรูปแบบ

              ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล

          3. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา


   2.โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์   อ่านเพิ่มเติม

  3.ศูนย์การศึกษาพิเศษ  หมายถึง ศูนย์การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศ การศึกษาพิเศษจึงมีความจำเป็นต่อ
การจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มพิเศษดังกล่าว ซึ่งการจัดการศึกษา
พิเศษได้รวมถึงด้านกระบวนการ สอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา
 (หลักสูตร) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่สนอง
ต่อความสามารถ และความต้องการของเด็กพิเศษเป็นรายบุคคล

  4.โรงเรียนเฉพาะความพิกา   อ่านเพิ่มเติม

  5.สถาบันราชานุกูล    วิสัยทัศน์ (vision) “สถาบันราชานุกูลเป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านพัฒนาสติปัญญาในระดับประเทศ 
พันธกิจ (mission) :1.พัฒนาเป็นศูนย์กลางความเชี่ยวชาญด้านพัฒนาสติปัญญา 2.พัฒนาบริการด้านพัฒนาสติปัญญาแบบองค์รวมในระดับตติยภูมิขั้นสูง  3.ส่งเสริมบทบาทของภาคีเครือข่ายด้านพัฒนาสติปัญญาให้เข้มแข็ง   อ่านเพิ่มเติม
  6.มูลนิธิแสงสว่าง   เป็นศูนย์กระตุ้นพัฒนาการให้กับเด็กพิเศษทุกประเภทได้แก่..
  •  เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย (Handicap Children)
  •  เด็กสมาธิสั้น (ADHD)
  •  เด็กปัญญาอ่อน (Down’s Syndrome)
  •  เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (LD)
  •  เด็กออทิสติก (Autistic)
  •  และเด็กพิเศษที่มีอาการอื่นๆที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ   อ่านเพิ่มเติม


การนำความรู้ไปใช้ 
     การดูแลเด็ก การจัดชั้นเรียนและการวางแผนการสอนที่ถูกต้องให้กับนักเรียน เพื่อนำไปสู่พัฒนาการที่ดีขึ้น  การจัดกิจกรรม และดูแลกิจวัตรประจำวันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสรมพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาด้วยการให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำ โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก



ประเมินตนเอง
     แต่งกายเรียบร้อย เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน และปฎิบัติตามได้ การศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติมเพื่อที่จะเข้าใจให้มากขึ้น พูดในเวลาเรียนนิดนึง

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย  ใช้คำถามถามอาจารย์ในส่วนที่ไม่เข้าใจ บางคนพูดแข่งกับอาจารย์และบางคนก็ตั้งใจเรียนดี



ประเมินอาจารย์
     อาจารย์แต่งกายสุภาพ ชี้แจงเนื้อหาเรื่องที่สอนละเอียดมาก และใช้คำถามถามนักศึกษาอยู่บ่อยๆเพื่อที่จะให้นักศึกษาคิดค้นหาคำตอบและวิธีการแก้ไข ได้ถูกต้อง










วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


             บันทึกอนุทิน



          วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี   17 พฤศจิกายน  2557  ครั้งที่ 14
             

โครงการ ครูปฐมวัยร่วมใจ อนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย   
จัดขึ้นภาย ในวันที่ 18 พฤศจิกายน  พ.ศ.2557


       วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 วันนี้มาประชุมที่ใต้ตึกคณะเพื่อนๆมาซ้อมรำ พิธีกร และจัดตกแต่งเวที ป้ายโครงการ และปรึกษากันในเรื่องดำเนินงานที่จะถึง













     ตอนเช้า 07.00 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน  พ.ศ.2557 มาแต่งตัวให้น้องที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม จะไปร่วมการแสดง ระบำดอกบัว ซึ่งเป็นการเเสดงชุดแรก











 









 






ความประทับใจ

     วันนี้มีน้องบางคนไม่สบายแต่ก็บอกกับแม่ว่า จะมาร่วมงาน จะมารำกับเพื่อนๆ จนคุณแม่ต้องพามา โรงเรียน ต้องขอบคุณทางโรงเรียนเป็นอย่างสูง คุณครูเอ็มครูที่ปรึกษา ชั้นอนุบาล 3 ที่ท่านให้ความร่วมมือกับฝ่ายนักศึกษา  ทุกๆคนต่างช่วยกันทำงานออกมาอย่างสำเร็จได้โดยดี และต้องขอบใจน้อง มากๆที่ให้ความร่วมมือกับพี่ๆ น้องน่ารักมากจริงๆ และขอบคุณฝ่ายอื่นๆที่ช่วยกันทำให้งานออกมาสำเร็จ ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่ดีพอแต่ทุกคนก็ทำด้วยความตั้งใจ ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเองและทำหน้าที่ตรงนี้ออกมาอย่างเต็มทีและดี ที่สุด





วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


             บันทึกอนุทิน



          วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี   10 พฤศจิกายน  2557  ครั้งที่ 13
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                  เวลาเลิกเรียน   14.00 น.



กิจกรรมภายในวันนี้
      วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ โดยมีเอกสารดูประกอบไปพร้อมกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนใน power point 


   องค์ความรู้ที่ได้รับ




     






การสื่อความหมายทดแทน  (Augmentative and Alternative Communication : AAC)
      
  -การรับรู้ผ่านการมอง(Visual strategies)


 เช่น  การสื่อสารโดยภาพเพื่อสอน เรื่องการรับประทานอาหาร




นำรูปภาพทั้งหมดให้เด็กดูทีละภาพ   พร้อมกับบอกว่าแต่ละรูปคืออะไร
       เรียงรูปภาพตามลำดับ พร้อมชี้บอกความหมายของภาพนั้น จากภาพ คือ กิน แฮมเบอร์เกอร์ รสไก่  ที่ร้านแม็คโดนัลด์ ล้างมือ เช็ดมือ      พูด ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งและบ่อยๆ 


-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(Picture exchangCommunication System : PECS)

       คือ วิธีที่ใช้ในการสื่อสาร ส่งเสริมทักษะการสื่อสารโดยการใช้ภาพเป็นสื่อ เพื่อช่วยให้เด็กสามารถสื่อสารและบอกความต้องการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้การสื่อสารโดยใช้ภาพเป็นสื่อได้ โดยใช้กระบวนการที่มาตรฐานเพื่อให้เด็กสามารถสื่อสารได้อย่างเต็มความสามารถ

                    


   
                 
                                     
      
         จากภาพ...คือสิ่งที่เด็กต้องการเช่น I Want apple ฉํนต้องการแอปเปิ้ล หรือ I  See book ฉันเห็นหนังสือ  แล้วก็ Thank you  คือ การขอบคุณ
          
       





        จากภาพ.... เป็นการแสดงถึงเรื่อง สุขอนามัย ในการเข้าห้องน้ำเราควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อเข้าไปในห้องน้ำ ภาพนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการให้เด็กเกิดการช่วยเหลือตนเอง ในการใช้ห้องน้ำ

       


          จากภาพ....  เป็นการใช้ภาพบอกเพื่ออยากได้สิ่งของ คือ เด็กให้ภาพ ผลส้ม และครูก็จะยื่นผลส้มให้ นั้นก็คือว่าเด็กต้องการที่จะกินส้มหรือต้องการส้ม จึงใช้ภาพแทนการสื่อสารให้กับครู หรือผู้ดูแล

-เครื่องโอภา (Communication Devices)





       เครื่องโอภา คือ เครื่องมือสำหรับการสื่อสารของเด็กออทิสติกเป็นวิธีการพูดที่สื่อความหมายที่ดี คือการกดปุ่มแล้วจะมีเสียงออกมา  ยกตัวอย่าง เช่น กดปุ่มที่1 กินข้าว กดปุ่มที่ 2 อาบน้ำ  เป็นต้น 


-โปรแกรมปราศรัย






        โปรแกรมปราศรัย เป็นซอฟต์แวร์มัลติมีเดีย เพื่อช่วยในการสื่อสารสําหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านการพูด โดยใช้ร่วมกับเครื่องโอภา  เป็ นเครื่องมือที่ทําหน้าที่เป็ นเสมือนกล่องที่บรรจุเสียงพูดที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จํากัดจํานวน โดยแบ่งเสียงเป็ นหมวดหมู่ตามการใช้งาน ซึ่งแต่ละเสียงจะประกอบด้วย หน่วยเสียงพูด รูปภาพ และข้อความ

ประเมินตนเอง


          แต่งกายเรียบร้อย แต่วันนี้เข้าห้องช้าเพราะติดธุระ ซื้อน้ำไปให้อาจารย์ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและอธิบายหน้าชั้นเรียน มีใบเอกสารประกอบในการเรียน

ประเมินเพื่อนๆ

        เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนมีใบเอกสารประกอบการเรียนคู่กับ Power point ของอาจารย์ วันนี้เพื่อนไม่มากันส่วนหนึ่ง

ประเมินอาจารย์

         อาจารย์สอนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  อาจารย์มีความมุ่งมั่นในการสอน  อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ  เช่น  VDR  การบำบัดเด็กออทิสติก อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย น่ารัก


                                     
                                      สิ่งที่หาเพิ่มเติม

การบำบัดด้วยศิลปกรรมบำบัด




การบำบัดทางเลือกด้วยสัตว์



                                  


การฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กออทิสติก









วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


             บันทึกอนุทิน



          วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี   3 พฤศจิกายน  2557  ครั้งที่ 12
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                  เวลาเลิกเรียน   14.00 น.



กิจกรรมภายในวันนี้

   อาจารย์เฉลยข้อสอบในคาบเรียนและพานักศึกษาทบทวนความรู้ที่ผ่านมา เช่น ความรู้เกี่ยวกับเด็กออทิสติกต้องจำเลยว่า เด็กมีลักษณะคือ ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว เด็กสมาธิสั้นADHD คือ สมาธิสั้น  ซนอยู่ไม่นิ่ง   หุ่นหันพลันแล่น  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เช่น โรคลมชัก ความผิดปกติของระบบสมอง เช่น การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit mal) การชักแบบรุนแรง (Grand mal) อาการชักแบบ (Partial complex) อาการไม่รู้สึกตัว (Focal partial) และ ลมบ้าหมู (Grand mal)เป็นต้น 


      สรุป องค์ความรู้ที่ได้รับ



การนำความรู้ไปใช้

     นำไปสอนเด็กที่มีความบกพร่องทั้ง 9ด้านการวางแผนในการสอนเด็กที่มีความบกพร่อง และเป็นแนวทางในการชี้แนะให้กับผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทั้ง 9 ประเภท

ประเมินตนเอง

    แต่งกายเรียบร้อย ตอบคำถามอาจารย์ได้และร่วมกันเฉลยคำตอบของข้อสอบวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ กันภายในห้องเรียน แต่คุยเยอะไปหน่อย วันนี้อาจารย์นำบล็อกของดิฉันขึ้นเป็นตัวอย่างในการอัฟบล็อกดี หนูรู้สึกภูมิใจมากๆ และจะพยายามทำให้ดีและแก้ไขปรับปรุงต่อไปคะ

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย  เฉลยคำตอบร่วมกันกับอาจารย์ พูดจากันเพื่อแสดงความคิดเห็น น่ารัก เรียบร้อย

ประเมินอาจารย์
     อาจารย์แต่งกายสุภาพ บอกคะเเนนข้อสอบให้กับนักศึกษาและเฉลยคำตอบข้อสอบวิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์แลกเปลี่ยนคำถาม-คำตอบกับนักศึกษา



วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11



             บันทึกอนุทิน



          วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  27 ตุลาคม  2557  ครั้งที่ 11
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                  เวลาเลิกเรียน   14.00 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

   วันนี้สอบ Mid  Team ในราย วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  เพื่อนๆทุกคนมาสอบกันอย่างตั้งใจ ขอให้ได้คะแนนดีๆกันทุกคนนะคะ


    







วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


             บันทึกอนุทิน



          วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                วัน/เดือน/ปี  20 ตุลาคม  2557  ครั้งที่ 10
               เวลาเข้าสอน  11.00 น. เวลาเรียน 11.30  น.
                  เวลาเลิกเรียน   14.00 น.



กิจกรรมภายในวันนี้
     อาจารย์อธิบายเนื้อหาของเด็กที่มีความบกร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กสมาธิสั้นและเด็กพิการซ้อนโดยอาจารย์แจกใบเอกสารให้ดูตามเนื้อหาใน power point ที่อาจารย์อธิบาย



                                  สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การวางแผนในการสอนเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กสมาธิสั้นและเด็กพิการซ้อน และเข้าใจปัญหาของเขาเพื่อครูจะได้ปฏิบัติตนให้ถูกทาง ส่วนสำคัญคือการให้กำลังใจให้เด็กพิเศษและการช่วยเหลือ ดูแลเด็ก

ประเมินตนเอง

          มีความรับผิดชอบ แต่งกายเรียบร้อย ดูใบงานตามเนื้อหาที่อาจารย์สอน บางทีก็พูดเกินไป แต่ก็เก็บรายละเอียดได้ บรรยากาศน่านอนมากๆ 

ประเมินเพื่อนๆ

        เพื่อนๆตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อยแลกเปลี่ยนคำถามกับอาจารย์และฟังคำอธิบายได้เข้าใจ

ประเมินอาจารย์
  
        อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย น่ารัก สอนอย่างละเอียด แลกเปลี่ยนคำถามกับนักศึกษา อาจารย์มีวิดีโอมาให้ดูด้วยเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น 



สิ่งที่หาเพิ่มเติม

         เด็กสมาธิสั้น